เมนู

คือ นิพพาน เป็นปัจจัยแก่มรรค แก่ผล ด้วยอำนาจของอารัมมณ-
ปัจจัย
[1426] 6. อัปปมาณธรรม เป็นปัจจัยแก่ปริตตธรรม ด้วย
อำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือ พระอริยะทั้งหลายออกจากมรรค พิจารณามรรค, พิจารณาผล,
พิจารณานิพพาน.
นิพพานเป็นปัจจัยแก่โคตรภู แก่โวทาน แก่อาวัชชนะ ด้วยอำนาจ
ของอารัมมณปัจจัย.
[1427] 7. อัปปมาณธรรม เป็นปัจจัยแก่มหัคคตธรรม
ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.

คือ พระอริยะทั้งหลายรูปจิตของบุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยจิตที่เป็นอัปป-
มาณธรรม ด้วยเจโตปริยญาณ
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัปปมาณธรรม เป็นปัจจัยแก่เจโตปริยญาณ แก่
ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ แก่อนาคตังสญาณ ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.

3. อธิปติปัจจัย


[1428] 1. ปริตตธรรม เป็นปัจจัยแก่ปริตตธรรม ด้วย
อำนาจของอธิปติปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ และ สหชาตาธิปติ
ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่
บุคคลให้ทาน สมาทานศีล กระทำอุโบสถกรรมแล้ว กระทำกุศล
กรรมนั้น ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้วพิจารณา.
บุคคลกระทำกุศลกรรมทั้งหลายที่เคยสั่งสมไว้แล้วในกาลก่อน ให้เป็น
อารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว พิจารณา.
พระเสกบุคคลทั้งหลายกระทำโคตรภูให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น
ฯลฯ กระทำโวทานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว พิจารณา.
บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำจักษุ ฯลฯ หทย-
วัตถุ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นปริตตธรรมให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ครั้น
กระทำจักษุเป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ราคะ ย่อมเกิดขึ้น
ทิฏฐิ ย่อมเกิดขึ้น.
ที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่
อธิปติธรรมที่เป็นปริธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตต-
สมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.
[1429] 2. มหัคคตธรรม เป็นปัจจัยแก่มหัคคตธรรม ด้วย
อำนาจของอธิปติปัจจัย

มีอย่างเดียว คือที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่
อธิปติธรรมที่เป็นมหัคคตธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย
ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.

[1430] 7. มหัคคตธรรม เป็นปัจจัยแก่ปริตตธรรม ด้วย
อำนาจของอธิปติปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ และ สหชาตาธิปติ
ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่
บุคคลกระทำปฐมฌานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ฯลฯ เนวสัญญา
นาสัญญายตนะ ฯลฯ ทิพยจักษุ ฯลฯ กระทำอนาคตังสญาณให้เป็นอารมณ์
อย่างหนักแน่นแล้ว พิจารณา.
บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำขันธ์ทั้งหลายที่เป็น
มหัคคตธรรมให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ครั้น กระทำขันธ์นั้นให้เป็นอารมณ์
อย่างหนักแน่นแล้ว ราคะ ย่อมเกิดขึ้น ทิฏฐิ ย่อมเกิดขึ้น.
ที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่
อธิปติธรรมที่เป็นมหัคคตธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย
ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.
[1431] 4. มหัคคตธรรม เป็นปัจจัยแก่ปริตตธรรม และ
มหัคคตธรรม ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.

มีอย่างเดียว คือที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่
อธิปติธรรมที่เป็นมหัคคตธรรมเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และ
จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.

[1432] 5. อัปปมาณธรรม เป็นปัจจัยแก่อัปปมาณธรรม
ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ และ สหชาตาธิปติ
ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่
นิพพาน เป็นปัจจัยแก่มรรค แก่ผล ด้วยอำนาจของอธิปปัจจัย.
ที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่
อธิติธรรมที่เป็นอัปปมาณธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย
ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.
[1433] 6. อัปปมาณธรรม เป็นปัจจัยแก่ปริตตธรรม ด้วย
อำนาจของอธิปติปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ และ สหชาตาธิปติ
ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่
พระอริยะทั้งหลายออกจากมรรคการทำมรรคให้เป็นอารมณ์อย่างหนัก
แน่นแล้ว พิจารณา, กระทำผลให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ฯลฯ กระทำ
นิพพานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ฯลฯ
นิพพานเป็นปัจจัยแก่โคตรภู, แก่โวทาน ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.
ที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่
อธิปติธรรมที่เป็นอัปปมาณธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป
ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.

[1437] 7. อัปปมาณธรรม เป็นปัจจัยแก่ปริตตธรรม และ
อัปปมาณธรรม ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย

มีอย่างเดียว คือที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่
อธิปติธรรมที่เป็นอัปปมาณธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และ
จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.

4. อนันตรปัจจัย


[1435] 1. ปริตตธรรม เป็นปัจจัยแก่ปริตตธรรม ด้วย
อำนาจของอนันตรปัจจัย

คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นปริตตธรรมที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์
ทั้งหลายที่เกิดหลัง ๆ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.
อนุโลม เป็นปัจจัยแก่โคตรภู, อนุโลม เป็นปัจจัยแก่โวทาน,
อาวัชชนะเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นปริตตธรรม ด้วยอำนาจของอนันตร-
ปัจจัย.
[1436] 2. ปริตตธรรม เป็นปัจจัยแก่มหัคคตธรรม ด้วย
อำนาจของอนันตรปัจจัย

คือ จุติจิตที่เป็นปริตตธรรม เป็นปัจจัยแก่อุปปัตติจิตที่เป็นมหัคคต-
ธรรม ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นปริตตธรรม เป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะที่เป็นมหัคคต-
ธรรม.